ABOUT US



ศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศไทย
Thailand Network Center on Air Quality Management (TAQM)


 

           1. ความเป็นมา
          จากผลการดำเนินโครงการวิจัย “การจัดการความรู้ด้านคุณภาพอากาศ และพัฒนาแผนที่นำทางงานวิจัยด้านการเพิ่มคุณภาพอากาศในประเทศไทย” ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) รวมถึงการระดมความคิดเห็นของกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง “ทิศทางการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศ 20 ปีข้างหน้า” หนึ่งในประเด็นหลักจากผลการดำเนินงานของทั้งสองโครงการ คือ การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการจัดการคุณภาพอากาศอย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการรวมตัวของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านคุณภาพอากาศและจัดตั้งศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศไทย (Thailand Network Center on Air Quality Management : TAQM) ขึ้น
 
          2. พันธกิจ
          การจัดการคุณภาพอากาศอย่างยั่งยืนด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย
 
          3. วัตถุประสงค์
           1. การสร้างเครือข่ายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านคุณภาพอากาศทั้งในและต่างประเทศ
           2. การพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง และทำการบูรณาการงานคุณภาพอากาศในทุกมิติ ทั้งด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านเทคโนโลยี ระดับนโยบาย/ระดับแผน/ระดับปฏิบัติการ
           3. การถ่ายทอดความรู้ (พื้นฐาน เทคนิคการตรวจวัดมลพิษ เทคโนโลยีการควบคุม การดูแลอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ เป็นต้น) เพื่อการจัดการคุณภาพอากาศอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน ท้องถิ่น หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา

           4. เป้าหมาย
           1. เป็นแหล่งรวมข้อมูลนักวิชาการ และงานวิจัยด้านคุณภาพอากาศ และการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันโดยประชาชนเข้าถึงได้สะดวก
           2. เป็นแหล่งเรียนรู้ และตอบโจทย์สังคมเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศอย่างยั่งยืน

 
           5. ผู้เกี่ยวข้อง/ ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการเริ่มศูนย์เครือข่ายฯ
                            
หน่วยงาน สังกัด บุคลากรหลัก
สถาบันการศึกษา
 

 
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล
ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์
ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล
ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.วัชราภรณ์ สุนสิน
วิทยาลัยพัฒนามหานคร
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
รศ.ดร.มณีรัตน์ องค์วรรณดี
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
คณะสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ
คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม
คณะสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร.ธัญภัสร์ ทองเย็น
ภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม
คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

 
รศ.ดร.สราวุธ เทพานนท์
ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา
ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.ดร.ตระการ ประภัสพงษา
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.นวพร กาญจนศิรานนท์
 
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศ.ดร.พีรพงศ์ ทีฆสกุล
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รศ.ดร.เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรัยทรัพย์สุนทร
สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผศ.ดร.ประพัทธ์ พงษ์เกียรติกุล
ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผศ.ดร.พรรณวดี สุวัฒิกะ
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม
คณะพละศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ผศ.ดร.นรุตตม์ สหนาวิน
ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์
คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและการพัฒนา
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
รศ.ดร.เอกบดินทร์ วินิจกุล
Department of Energy, Environment and Climate Change
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.เตือนใจ ตุลย์จินดาชบาพร
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.สมพร จันทระ
ภาควิชาเคมี
สถาบันการศึกษาและหน่วยงานในต่างประเทศ - Incheon National University
- Asian Institute for Environmental Research and Energy (A.NERGY) South Korea
Prof. Hee Kwan Lee
School of urban and environmental engineering
- Kanazawa University
- East Asia Nanoparticle Monitoring Network
(EA-Nanonet) Japan
Prof. Masami Furuuchi
College of Science and engineering
ภาครัฐ กรมควบคุมมลพิษ คุณเถลิงศักดิ์ เพชรสุวรรณ
รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
กรมควบคุมมลพิษ ดร.พัชราวดี สุวรรณธาดา
ผู้อำนวยการส่วนคุณภาพอากาศในบรรยากาศ
กรมควบคุมมลพิษ นายอิทธิพล พ่ออามาตย์ ห้องปฏิบัติการตรวจวัดมลพิษจากยานพาหนะ
กรมโรงงานอุตสาหกรรม นายสุพจน์ พินิตกิตติสกุล
ผู้อำนวยการส่วนมลพิษอากาศ
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
กรุงเทพมหานคร
นางสาวทิพย์ญาณี สุวรรณวิจิตร
ภาคเอกชน บริษัท อินโนเวทีฟ อินสทรูเมนต์ จำกัด นายธเนศวร ศิริอาชวะวัฒน์
บริษัท ซีคอท จำกัด นายขรรชัย เกรียงไกรอุดม
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายศิรศักดิ์ จันเทรมะ
ผู้จัดการฝ่ายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด นายยุทธพล ใจดี
ผู้จัดการฝ่ายสิ่งแวดล้อม
บริษัท เวิลด์ เอ็นไวร์ เทคโนโลยี จำกัด นายอนุสรณ์ ไชยวิเศษ
องค์กร/
นักวิชาการอิสระ
นักวิชาการอิสระ ด้านสิ่งแวดล้อม นายสนธิ คชวัฒน์
  นายสุกิต หัทยาสมบูรณ์
           6. แหล่งที่มาของงบประมาณ
           เพื่อการเริ่มต้นของ ศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล จึงได้เสนอขอทุนส่งเสริมการจัดตั้งโครงการนี้ จากฝ่ายวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลนักวิชาการ และงานวิจัยด้านคุณภาพอากาศและการเผยแพร่ที่เป็นปัจจุบัน โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก รวมทั้งสามารถตอบโจทย์สังคมเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศอย่างยั่งยืน
          ทั้งนี้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2560 คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติที่ประชุม ระบุว่าเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ จึงสมควรให้ ศสอ. รับดำเนินการโครงการจัดตั้ง “ศูนย์เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการจัดการคุณภาพอากาศอย่างยั่งยืน” โดยมี รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล เป็นหัวหน้าโครงการ และพัฒนาข้อเสนอโครงการในการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯ ต่อไป